ชมรมผู้สูงอายุตำบลดู่
อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้
และประสบการณ์ เป็นผู้ถึงพร้อมทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ
เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า
แม้ผู้สูงอายุจะเข้าสู่วันที่ร่างกายอ่อนแอเสื่อมถอยแล้ว แต่ก็ยังพร้อม
และสามารถที่จะช่วยเหลือครอบครัวและสังคมได้ โดยที่ผ่านมา ผู้สูงอายุในชุมชนจะใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่
ขาดการรวมกลุ่มและขาดการดูแลคุณภาพชีวิตให้เหมาะสม บ้างขาดการเหลียวแลจากสังคม
ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นภาระของสังคมในระยะยาว
องค์บริหารส่วนตำบลดู่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้สูงอายุในชุมชน
จึงได้มีการสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง ชมรมผู้สูงอายุตำบลดู่ขึ้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุวัยเดียวกันได้พบปะสังสรรค์
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ มีการดูแลสวัสดิการทางสังคมแก่สมาชิก รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีงานอดิเรก และมีกิจกรรมสันทนาการที่เหมาะสมตามความสนใจ
สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งชมรม ในปี 2555 มีสมาชิกประมาณ 650
คน กระจายอยู่ใน 13 หมู่บ้าน
วัตถุประสงค์
– เพื่อเป็นศูนย์รวม
ส่งเสริมสนับสนุน ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม
ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม
– เพื่อให้ผู้สูงอายุ
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ร่วมคิดร่วมทำ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในหมู่สมาชิก
– เพื่อให้ผู้สูงอายุ
ที่มีความรู้ความสามารถ
มีประสบการณ์ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีพไปยังสมาชิกรุ่นต่อๆไป
– เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมต่าง
ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม
– เพื่อผดุงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ
– เพื่อช่วยเหลือ
สนับสนุนสมาชิกให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงได้
วิธีดำเนินงาน
ดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน
1. มีการพัฒนาระบบข้อมูลการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่
- ข้อมูลตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(Barthel
Activities of Daily Living : ADL)
- ข้อมูลตามกลุ่มอายุ กลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง
- ข้อมูลสังคม – เศรษฐานะ
ในระดับตำบลและหมู่บ้าน
- ข้อมูลการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ
ทั้งทางการแพทย์/สาธารณสุข ,ทางสังคม
- ระบบคืนข้อมูลให้ชุมชน/ส่วนท้องถิ่น
2. มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
– สมาชิกชมรมได้รับการอบรมเป็นอาสาสมัครด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
(อผส.)สามารถดูแลให้คำแนะนำการออกกำลังกาย
ทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุกลุ่ม 2 (ติดบ้าน) กลุ่ม
3 (ติดเตียง) สามารถคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น
ในการการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และประเมินดัชนีมวลกาย
การคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิต การประเมินความสามารถในกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุ
การคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วย 2 Qs และ การคัดกรองภาวะสมองเสื่อมสำหรับบุคคลในครอบครัวได้
3. การมีส่วนร่วมของท้องถิ่น
– มีการประชุมกำหนดแผนการปฏิบัติงาน ระหว่าง อผส. จนท.สธ. อปท.
และผู้เกี่ยวข้อง
– มีการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือตามภารกิจครอบคลุมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม
สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ
สนับสนุนทรัพยากรงบประมาณการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ การจัดตั้ง
สนับสนุนการออมทรัพย์/กองทุน/ส่งเสริมรายได้ และจัดอบรมพัฒนาความรู้/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ
– มีการจ่ายเบี้ยยังชีพและสวัสดิการอื่นๆ
– มีรถบริการฉุกเฉิน
4. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
กลุ่มติดบ้านหรือป่วย เริ่มทุพพลภาพ และกลุ่มติดเตียง
– สมาชิกผู้สูงอายุมีความรู้
ความสามารถในการนวด และการแพทย์แผนไทย
จึงได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน
– ชมรมให้จัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
เช่นการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก การฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก
การแปรงฟันในช่วงเวลาจัดกิจกรรมชมรมฯ การตรวจสุขภาพช่องปากโดยสมาชิกชมรม
กิจกรรมอื่นของชมรม
- เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬา
กีฬาพื้นบ้าน นันทนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุภายในชมรม ระหว่างชมรม/หรือ
ร่วมกับชุมชน
- การชักชวนสมาชิกในครอบครัวญาติพี่น้องร่วมปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1
ครั้ง
- การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการวัดส่งเสริสุขภาพและการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาวัด
- การทำกิจกรรมร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็ก
/ โรงเรียน
- การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อดำรงรักษา
สืบสานและพัฒนาด้านพุทธศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา กิจกรรมอื่นๆของชุมชน
หน่วยงาน องค์กร
- ชมรมเป็นแหล่งศึกษาดูงาน
การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับสมาชิกชมรม/ระหว่างชมรม/
- ร่วมกิจกรรมวันผู้สูงอายุ
จัดโดย องค์การบริหารส่วนตำบลดู่
ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้กลุ่มเข้มแข็ง
และมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คือ
1)
สมาชิกชมรม ที่มีความมุ่งมั่น มีความรู้ ความสามารถในเรื่องการออกกำลังกายที่ดี มีความเสียสละ
มีความเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของชมรมฯ
และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชมรม
2) สมาชิกชมรมมีความตั้งใจ ใส่ใจสุขภาพ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อสมาชิกด้วยกัน และมีใจศรัทธาในตัวผู้นำ มีวินัยและความรับผิดชอบในการออกกำลังกาย
2) สมาชิกชมรมมีความตั้งใจ ใส่ใจสุขภาพ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อสมาชิกด้วยกัน และมีใจศรัทธาในตัวผู้นำ มีวินัยและความรับผิดชอบในการออกกำลังกาย
3) การได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
จาก องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ ทุกปี
4) ใช้กระบวนการบริหารจัดการที่เป็นกันเอง ใช้วิธีขอความร่วมมือให้ช่วยเหลือลงขันกัน มีการพูดคุยปรึกษาหารือแบบไม่เป็นทางการ
5) ชมรม มีการจัดกิจกรรมตรงความต้องการของสมาชิก มีการปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก เช่น เพิ่มท่าเต้นที่สนุกสนาน มีกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่สมาชิกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่นอกเหนือจากการออกกำลังกาย
6) การจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่สมาชิกเป็นระยะ ๆ และแจ้งการตรวจสุขภาพ รวมถึงมีตัวชี้วัดด้านสุขภาพสะท้อนให้สมาชิกได้ทราบผลการดูแลสุขภาพและมีแรงจูงใจต่อเนื่อง
4) ใช้กระบวนการบริหารจัดการที่เป็นกันเอง ใช้วิธีขอความร่วมมือให้ช่วยเหลือลงขันกัน มีการพูดคุยปรึกษาหารือแบบไม่เป็นทางการ
5) ชมรม มีการจัดกิจกรรมตรงความต้องการของสมาชิก มีการปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก เช่น เพิ่มท่าเต้นที่สนุกสนาน มีกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่สมาชิกมาทำกิจกรรมร่วมกันที่นอกเหนือจากการออกกำลังกาย
6) การจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่สมาชิกเป็นระยะ ๆ และแจ้งการตรวจสุขภาพ รวมถึงมีตัวชี้วัดด้านสุขภาพสะท้อนให้สมาชิกได้ทราบผลการดูแลสุขภาพและมีแรงจูงใจต่อเนื่อง
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
- ด้านการออกกำลังกาย
สถานที่กลางแจ้งไม่สามารถออกกำลังกายได้ในวันที่ฝนตก
ทำให้ออกกำลังกายไม่ต่อเนื่องในฤดูฝน แก้ไขโดยควรมีสถานที่ที่มีหลังคาสำรองไว้
เช่น โรงยิม ใต้ถุนตึก เป็นต้น
- ปัญหาเรื่องได้รับงบประมาณน้อย
รายได้ไม่พอทำให้สมาชิกต้องลงทุนเอง เช่น ค่าอุปกรณ์บางอย่าง
ค่าเครื่องแต่งกาย เป็นต้น แก้ไขโดย มีการบริหารแบบประหยัด มีการระดมทรัพยากรจากแห่งต่าง ๆ เพิ่ม
สมาชิกสอนกันเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย
สิ่งท้าทายที่อยากทำ/
พัฒนาต่อไปในอนาคต สมาชิกชมรม ส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาในสิ่งต่อไปนี้
1.
ขยายกิจกรรมให้หลากหลาย เพิ่มสถานที่ อุปกรณ์
และเพิ่มสมาชิกให้มากขึ้น
2.
พัฒนาสมาชิกให้นำกลุ่มออกกำลังได้ แทนครูฝึก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น